หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ยินดีต้อนรับกับระบบดิจิตอลทีวี ระบบใหม่สู่ความชัดแจ๋ว แหวว แหวว ~
ก๊อกแก๊ก ก๊อกแก๊ก ~ สวัสดีเพื่อนๆ ชาว TechXcite ทุกคนคร้าบบบ อัพเดทข่าว IT วันนี้ผมหยิบเอาเรื่องของสัญญาณทีวีแบบใหม่ที่ชัดเจน แจ่มแจ๋วคมชัดระดับ HD อาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการซื้อช่องสัญญาณ หรือเกี่ยวกับคำว่า "ดิจิตอลทีวี" กันมาบ้าง เจ้าระบบที่ว่านี้เป็นระบบใหม่ที่จะมาแทนระบบเดิม(อนาล็อก)ในไม่ช้า วันนี้ผมก็เลยจะมาอธิบายในแบบที่เข้าใจง่ายให้เพื่อนๆ ทุกคนคร้าบบ

เพื่อนๆ ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีกับการดูทีวีที่บ้าน ก็ตามที่เราดูข่าว ดูละคร หลักๆ ที่ทุกคนเห็นและได้ใช้กันบ่อยๆ ก็คือ
 1. ระบบฟรีทีวี ปัจจุบันที่พบก็มี 3 5 7 9  11 พีบีเอส ช่องมาตรฐานที่เราทุกคนต้องผ่านหูผ่านตากันบ้างอยู่แล้ว
 2. ทีวีผ่านดาวเทียม เช่น ช่องอาร์เอส ช่องข่าวทุกค่ายสี ช่องแกรมมี่ พวกนี้ก็ดูฟรีเช่นเดียวกัน แค่เสียเงินซื้อค่ากล่องมาติดกับทีวีของเราแค่นั้นเอง
 3. ทีวีผ่านช่องเคเบิ้ล ประเภทนี้ก็เสียเงินเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ชื่นชอบแต่ละอย่าง เช่น ช่องดูฟุตบอล  ช่องกีฬา เป็นต้นแล้วเมื่อไม่นานมานี้ก็คงได้ยินข่าวกันกับระบบใหม่นั่นคือ ทีวีดิจิตอล มันคืออะไร ? เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันดีกว่าครับ :)
เรื่องของเรื่องคือ ระบบดิจิตอลทีวี นี้จะมาแทนระบบเดิมในอนาคตนั่นเอง เพื่อเพิ่มช่องทางการรับสัญญาณให้มากกว่าเดิมนั่นเองครับ โดยปกตินั้นยังคงเป็นสัญญาณแบบอนาล็อกอยู่ การเข้าถึงในที่ต่างๆ เช่นภูเขา หรือที่อับสัญญาณยังมีมากมาย เลยจะเปลี่ยนมาใช้สัญญาณแบบ DVB-T2 หรือแบบดิจิตอลแทน เพื่อสัญญาณที่ชัดเจนและคมชัดระดับ FULL HD เสถียรและไกลมากขึ้นแล้วนั้น ยังมาพร้อมกับช่องฟรีทีวีที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั่นเองครับ โดยแบ่งประเภทได้ดังนี้ครับ
คราวนี้ก็มีคำถามตามมาว่า แล้วทีวีที่บ้านจะสามารถรับสัญญาณนั้นได้หรือเปล่า? เพิ่งจะซื้อทีวีมาใหม่ ต้องเสียเงินอีกแล้วหรอ? มีวิธีอื่นหรือเปล่าที่จะสามารถดูเจ้า 48 ช่องนี้ได้ คำตอบ คือ ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ครับ ขอแค่ทีวีของคุณสามารถต่อกับกล่องรับสัญญาณ "Set Top Box" เท่านั้นเองครับ
ปล. กล่อง Set Top Box จะทำการแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอล
คราวหน้าผมจะมาบอกขั้นตอนที่จะติดตั้งและทำยังไงทีวีของเราถึงจะรับชมระบบดิจิตอลได้ สุดท้าย!! เพื่อนๆ สามารถติดตามบทความและข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ "ดิจิตอลทีวี" ได้จาก >>ที่นี่<< เลยนะคร้าบบบ 
ขอบคุณบทความจาก TechXcite
0
 
 
0
 
 
0
Google +
 
0
 
 
0
 
 
2
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น